ปวดฟัน เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน หากปวดนานกว่า 1-2 วัน ควรได้รับการตรวจรักษาโดยทันตแพทย์โดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาการจะยิ่งแย่ลง เบื้องต้นสามารถทานยาแก้ปวดบรรเทาได้ หากไม่ดีขึ้นแพทย์จะรักษาตามอาการปวดฟันที่ตรวจพบ

ปวดฟัน มีอาการอย่างไร

ปวดฟัน (Toothache) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน โดยอาจมีจุดเริ่มต้นการปวดจากภายในฟันหรือที่เหงือกและโครงสร้างกระดูกฟันรอบๆ มักรู้สึกปวดอย่างต่อเนื่องหรือปวดเป็นระยะๆ ไม่หาย สาเหตุที่พบได้บ่อยคือการมีฟันผุ หรือติดเชื้อจากการรักษาสุขอนามัยช่องปากไม่ดี ทั้งนี้การดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ หรือแรงกดของฟันขณะเคี้ยวอาหารยังอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการปวดได้ หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

อาการเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง โดยอาการปวดฟันหรืออาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย สังเกตได้ดังนี้

  • อาการปวดแปลบ ปวดตุบๆ หรือปวดอย่างต่อเนื่อง ในบางรายจะรู้สึกปวดเมื่อมีแรงกดลงบนฟันในยามกัดหรือเคี้ยวอาหาร
  • อาการปวดอาจแย่ลงในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะเมื่อนอนลง
  • อาการบวมรอบๆ ฟัน เช่น บริเวณเหงือกหรือแก้ม
  • ปวดขากรรไกรหรือรู้สึกฟกช้ำเมื่อสัมผัส ซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในฟันซื่ที่อยู่ใกล้ขากรรไกร
  • บางครั้งอาจปวดบริเวณฟันที่ถูกถอนไปแล้วหรือฟันที่หัก
  • บางครั้งอาการปวดอาจไม่ชัดเจนว่ามาจากฟันบนหรือฟันล่าง อาการปวดฟันบนอาจรู้สึกคล้ายเป็นอาการปวดจากโพรงจมูกหรือกระดูกหลังโหนกแก้ม หรือเมื่อมีอาการปวดที่ฟันกรามล่างก็อาจรู้สึกเหมือนเป็นอาการเจ็บที่ร้าวมาจากหู
  • มีเลือดออกที่เหงือก
  • มีของเหลวกลิ่นเหม็นไหลออกจากบริเวณติดเชื้อ
  • ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดหู มีกลิ่นปาก หรือรู้สึกถึงรสชาติไม่พึงประสงค์ในปาก

ทั้งนี้ อาการปวดฟันที่เกิดขึ้นนานกว่า 1-2 วัน ควรได้รับการตรวจรักษาโดยทันตแพทย์โดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาการจะยิ่งแย่ลง โดยอาการปวดที่ไม่ได้รับการรักษานั้น อาจส่งผลให้เนื้อฟันที่อยู่ภายในติดเชื้อและมักนำไปสู่การเกิดหนอง ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดตุบๆ อย่างต่อเนื่องและรุนแรงตามมา ระหว่างที่ผู้ป่วยรอการรักษาอาจรับประทานยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน และเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin)

สาเหตุของการปวดฟัน

สาเหตุมักเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน ส่วนมากเป็นผลมาจากการมีฟันผุ ซึ่งจะรู้สึกได้เมื่อฟันเริ่มเป็นโพรงขนาดใหญ่และลึกลงไปยังชั้นฟันต่างๆ จากเคลือบฟันที่อยู่ชั้นนอกสุดไปถึงเนื้อฟันที่อยู่ชั้นถัดไป โดยเป็นชั้นที่ไวต่อความรู้สึก เนื่องจากมีท่อเล็กๆ ต่อมาจากโพรงเนื้อฟันที่อยู่ชั้นในสุด ซึ่งโพรงเนื้อฟันนั้นเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นเลือดอยู่ เมื่อฟันผุลึกลงมาถึงบริเวณกลางฟันจนสร้างความเสียหายต่อโพรงฟันนี้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสเผชิญอาการปวดได้มากยิ่งขึ้น ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจก่อให้เกิดอาการปวดได้มีดังนี้

  • ฟันหักหรือแตกเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ชั้นเนื้อฟันหรือโพรงเนื้อฟันที่ไวต่อความรู้สึกโผล่ออกมา ทั้งนี้บางครั้งอาจมองเห็นรอยแตกร้าวได้ไม่ชัดนัก แต่อาจเป็นรอยลึกลงไปภายในฟัน ทำให้มีอาการปวดทุกครั้งที่มีแรงกดจากการกัดหรือเคี้ยวอาหาร เรียกว่ากลุ่มอาการฟันร้าว
  • การรักษาฟัน เช่น การอุดหรือครอบฟัน อาจส่งผลให้ฟันซี่ดังกล่าวไวต่อความรู้สึกและมีอาการปวดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อฟันผุกินพื้นที่เนื้อฟันจนกว้างหรือลึกลงไป ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นประสาท แต่ถึงอย่างนั้นการอุดหรือครอบฟันก็เป็นการรักษาที่จำเป็น ซึ่งหากมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง อาการอาจจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
  • การนอนกัดฟัน เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวขณะนอนหลับ โดยการกัดฟันสร้างความเสียหายต่อฟันได้ และบางครั้งยังส่งผลต่อเส้นประสาทบริเวณนั้น ทำให้ไวต่อความรู้สึกยิ่งขึ้น
  • ฟันคุด ฟันแท้ที่ไม่ขึ้นตามปกติ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาดและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย เช่น ทำให้เกิดแรงดัน เหงือกติดเชื้อ และฟันผุ จนมีอาการปวดฟันตามมา
  • ฝีโพรงฟัน การติดเชื้อที่มีจุดกำเนิดจากภายในฟันและแพร่กระจายไปยังรากฟันและกระดูกรอบฟัน
  • โรคเหงือกหรือการติดเชื้อที่เหงือก อาการปวดมักเกิดขึ้นเมื่อโรคปริทันฑ์อันเป็นโรคเกี่ยวกับเหงือก เอ็นยึดเหงือก และกระดูกรอบๆ ที่คอยยึดฟันดำเนินมาถึงช่วงระยะท้าย เกิดการสูญเสียกระดูกรอบฟันและฝีที่เหงือกจากการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้มีช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก
  • รากฟันเปิดออก เป็นภาวะที่รากฟันไม่มีกระดูกและเหงือกปกป้องไว้ จึงมีอาการปวดหรือเสียวได้ง่ายเมื่อแปรงฟันหรือดื่มน้ำเย็น
  • ไซนัสอักเสบ เนื่องจากรากฟันกรามชั้นบนอยู่ใกล้กับโพรงอากาศข้างจมูกมาก เมื่อมีการอักเสบของไซนัส ฟันกรามบริเวณนี้จึงรับความรู้สึกได้ไวและรู้สึกเหมือนมีอาการปวดฟัน
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น วัสดุอุดหรือครอบฟันหลุดหรือเสียหาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือเจ็บคอ เป็นต้น

ปวดฟัน

การวินิจฉัยและการรักษาอาการปวดฟัน

แพทย์อาจตรวจหาสาเหตุของอาการด้วยการตรวจเอกซเรย์ฟันและใช้การทดสอบอื่นๆ เช่น การทดสอบด้วยการใช้อุณหภูมิเย็น การเคี้ยว หรือการใช้นิ้วมือกดลงบนเหงือก ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าเป็นอาการปวดรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโพรงประสาทฟันหรือปวดจากการมีเนื้อเยื่อฟันอักเสบ โดยระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวดที่เกิดขึ้นหลังการใช้ความเย็นกระตุ้นจะช่วยในการพิจารณาและวินิจฉัยสาเหตุของแพทย์ ทั้งนี้อาการปวดที่มาจากบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ฟัน แต่รู้สึกเหมือนปวดฟัน ถือเป็นกรณีที่ต้องใช้ความแม่นยำในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก

การรักษาอาการปวดฟัน

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการที่ตรวจพบ หากเกิดจากฟันผุ แพทย์จะนำเอาฟันที่ผุออกแล้วอุดด้วยวัสดุทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไป หรือหากมีสาเหตุมาจากวัสดุอุดฟันเกิดแตกหักหรือหลวมก็จะนำวัสดุเก่าออกแล้วอุดให้ใหม่ ส่วนในกรณีที่โพรงประสาทฟันหรือเนื้อฟันติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษารากฟัน โดยเป็นวิธีการนำเนื้อฟันที่ติดเชื้อออก แล้วใช้วัสดุอุดฟันปิดไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นอีก หรือหากเชื้อแบคทีเรียทำให้มีอาการไข้ ขากรรไกรบวม ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

ทั้งนี้บางรายอาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ ทำให้ต้องถอนฟันซี่ที่ปวดออก เช่น เมื่อฟันผุมากเกินไปจนไม่สามารถใช้การรักษารากฟัน หรือมีฟันคุด เป็นต้น และบางครั้งอาจให้การบำบัดเสริมด้วยเลเซอร์เย็น เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบที่เกิดขึ้นจากอาการปวดฟันไปพร้อมกับการรักษาชนิดอื่นๆ

การรักษาอาการปวดฟันด้วยตนเอง

ระหว่างที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาจากทันตแพทย์ อาจใช้การบรรเทาอาการปวดชั่วคราวด้วยตนเองไปพลางๆ ดังนี้

  • รับประทานยาบรรเทาปวด เช่น ไอบูโพรเฟน สำหรับเด็กแนะนำให้ใช้พาราเซตามอล ทั้งนี้เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพริน
  • ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก โดยผสมเกลือ ½ ช้อนชา กับน้ำอุ่น 240 มิลลิลิตร และอาจใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดรอบๆ ฟันที่มีอาการปวดเพื่อขจัดคราบอาหารที่ยังติดค้าง
  • อาจลองใช้น้ำแข็งถูระหว่างง่ามหัวแม่มือกับนิ้วชี้ข้างเดียวกับที่มีอาการปวดนาน 7 นาที หรือจนกว่าบริเวณที่ถูจะรู้สึกชา วิธีนี้นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าอาจช่วยหยุดการส่งกระแสประสาทแห่งความรู้สึกปวดไปยังสมองได้
  • ประคบเย็น ในกรณีที่ส่งผลให้แก้มบวม อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณดังกล่าว และควรรีบไปตรวจรักษา เพราะอาการบวม เป็นไข้ หรือเหงือกแดงอาจบ่งบอกถึงการมีฝีหนองในรากฟัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ขากรรไกรและฟันซี่อื่นๆ อย่างรุนแรง
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลูเป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือกธรรมชาติที่เชื่อว่าอาจช่วยลดอาการ โดยนำมาถูบริเวณที่ปวด หรือใช้ก้อนสำลีชุบและแปะไว้บนเหงือกและฟัน
  • อมน้ำมัน วิธีการใช้น้ำมันจากดอกทานตะวันหรืองากลั้วให้ทั่วปากเป็นความเชื่อในประเทศอินเดียที่กล่าวว่าการอมน้ำมันอาจช่วยรักษาเหงือกอักเสบ แต่สรรพคุณในการแก้ปวดฟันนั้นยังคงเป็นที่กังขา
  • ผักคราดหัวแหวน พืชที่กล่าวกันว่าอาจมีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวด แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ช่วยยืนยันได้ว่ามีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
  • เคี้ยวกลีบกระเทียมหรือวางกลีบกระเทียมที่หั่นไว้บนฟัน โดยจะทำให้มีสารอัลลิซิน (Allicin) ในน้ำมันกระเทียมที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยต่อสู้โรคเกี่ยวกับฟันออกมา

การป้องกันอาการปวดฟัน

การหมั่นรักษาสุขภาพเหงือกและฟันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการปวดฟันและโรคเกี่ยวกับฟันชนิดอื่นๆ สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  • จำกัดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลให้น้อยลง
  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และควรแปรงเบาๆ  ที่บริเวณเหงือกและลิ้นด้วย
  • ทำความสะอาดซอกฟันด้วยการใช้ไหมขัดฟัน
  • ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ปัญหาสุขภาพเหงือกและฟันยิ่งแย่ลง
  • หมั่นตรวจสุขภาพปากและฟันเป็นประจำทุกปี และถ้าเป็นไปได้ควรตรวจกับทันตแพทย์คนเดิมทุกครั้ง ทั้งนี้ระยะห่างในการตรวจอาจปรับให้ช้าหรือเร็วขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันในตอนนั้น หากมีบุตรหลานควรพาไปตรวจสุขภาพฟันทุก  6 เดือน เพื่อสามารถตรวจพบฟันผุและรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

อาการปวดฟันที่พบเจอได้บ่อยๆ

  • ฟันผุ
    ฟันผุเป็นสาเหตุที่พบเจอที่มากได้ที่สุดฟันผุก็คือโพรงที่ฟันเนื่องจากฟันผุจากการดูแลฟันที่ไม่ดีหรือการทานอาหารที่มีผลเสียต่อฟันอาการปวดสามารถเริ่มจากเบาๆ จนถึงรุนแรง และสามารถเป็นสามารถของอาการเสียวฟันได้
  • โรคปริทันต์
    เป็นการอักเสบของโครงสร้างที่ช่วยยึดรอบๆฟันของคุณโดยส่วนใหญ่นั้นก็คือเหงือกนั่นเองสาเหตุเกิดจากคราบแบคทีเรียบนฟันโดยหากไม่มีการดูแลรักษาฟันที่ดีเชื้อแบคทีเรียนี้ก็จะก่อตัวและกระจายไปทั่วเหงือกผลลัพธ์ของการติดเชื้อที่เหงือกก็จะเกิดอาการบวม, แดง และอาการกดเจ็บของเหงือก รวมถึงเลือดไหล และสัญญาณการกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นน้ำหนอง
    ความเสียหาย
    การร้าว, แตก หรือฟันที่แหว่งจากการบาดเจ็บสามารถทำให้เกิดอาการปวดตั้งแต่เบาๆ จนถึงรุนแรง ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น หากไม่พบเจอการร้าว ดังนั้นอาการอาจจะมาจากความเจ็บปวดในการเคี้ยว หรืออาการเจ็บปวดเมื่อได้รับความร้อนมาก หรือเย็นมาก
  • ไซนัสการติดเชื้อที่หู และอื่นๆ
    อาการปวดจากไซนัสนั้นเนื่องจากความดันที่ก่อตัวขึ้นเหนือรากฟันกรามน้อย ความดันนั้นเพิ่มขึ้นจากปลายประสาทฟัน และก่อให้เกิดอาการปวดฟัน รวมทั้งบริเวณกราม และด้านข้างของใบหน้า
  • ปวดเส้นประสาทฟันหรือเรียกว่าเนื้อเยื่อฟันอักเสบ
    เนื้อเยื่อฟันอักเสบเกิดขึ้นเมื่อมีฟันผุและการติดเชื้อที่กระจายผ่านไปทั่วชั้นนอกของฟันทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อซึ่งได้แก่ประสาทและหลอดเลือดหลังจากนั้นเนื้อเยื่อติดเชื้อจึงเกิดการอักเสบ, บวม และก่อให้เกิดแรงดันที่สร้างขึ้นภายในรากชั้นในของฟัน อาการนี้จะบีบอัดประสาท และหลอดเลือด ซึ่งทำให้ปวดฟันตุบๆอย่างรุนแรง เนื้อเยื่อฟันอักเสบควรได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

อาการปวดฟันแบบเบาๆ ระหว่างวัน เนื่องจากยุ่งกับการทำกิจกรรม และทำงานในแต่ละวัน ในทางกลับกันนั้นในช่วงกลางคืนที่เป็นเวลาพักผ่อน และไม่ได้เพ่งเล็งถึงการทำงาน ดังนั้นอาการปวดจึงรู้สึกได้ชัดเจนมากกว่า หากอาการปวดนั้นยาวนาน 1-2 วัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ เนื่องจากอาการนั้นมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ อาการปวดฟันไม่ใช่สิ่งที่ควรละเลยหรือรักษาได้เอง

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  thetuxproject.com

สนับสนุนโดย  ufabet369